PTT Group Sharings
21 มกราคม 2565

วิกฤติปะการังและระบบนิเวศทางทะเล

ใครจะไปรู้ว่าปัจจุบันแนวปะการังของไทยปะการังไทยทั้งทางฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย กว่า148,955 ไร่ อยู่ในระดับเสียหายมากกว่า 80%และเหลือในระดับสมบูรณ์แค่ 5% มันเกิดอะไรขึ้น?

ผลจากสภาวะโลกร้อน ส่งผลให้อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น เมื่อรวมกับผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ ส่งผลให้เกิดแนวปะการังฟอกขาวไปแล้ว 1 ใน 3 ของโลก ในส่วนของแนวปะการังไทยเองก็ได้รับความเสียหายจนเรียกได้ว่าอยู่ในสภาวะวิกฤติ เมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2564 ที่ผ่านมากรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้ออกประกาศและมีโทษปรับสูงสุด 100,000 บาท สำหรับนักท่องเที่ยวที่ใช้และนำครีมกันแดดที่มีส่วนประกอบของสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการังเข้าไปในอุทยาน โดยจากข้อมูลทางวิชาการพบว่าสารเคมีหลายชนิดในครีมกันแดด มีส่วนทำให้ปะการังเสื่อมโทรมลง เนื่องจากสารเคมีเหล่านั้นทำลายตัวอ่อนปะการัง ขัดขวางระบบสืบพันธุ์ และทำให้ปะการังฟอกขาว ได้แก่

  1. สารออกซีเบนโซน Oxybenzone (Benzophenone-3, BP-3)
  2. สารอ็อกติโนเซต Octinoxate (Ethylhexyl methoxycinnamate)
  3. สาร4เอ็มบีซี 4-Methylbenzylid Camphor (4MBC)
  4. สารบิวทิลพาราเบนButylparaben

แนวปะการังมีความสำคัญมากสำหรับระบบนิเวศทางทะเลเป็นแหล่งอาหาร แหล่งสืบพันธุ์ เป็นที่บ้านของสัตว์ทะเลนับล้านสายพันธุ์ อีกทั้งยังเป็นแหล่งอนุบาลให้กับสัตว์ทะเลในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ดังนั้นเมื่อแนวปะการังเสื่อมโทรมย่อมส่งผลกระทบต่อเราด้วยเช่นกัน

นอกจากเรื่องความสวยงามและระบบนิเวศ การเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวยังมีผลต่อความรุนแรงของภัยธรรมชาติบริเวณริมชายฝั่ง แหล่งอาหารของมนุษย์ วิถีชีวิต การประมงและการท่องเที่ยว ความสวยงามของปะการังไทยสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมหาศาล ซึ่งสร้างรายได้ให้คนท้องถิ่น และสร้างเม็ดเงินมหาศาลหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ

การแก้ปัญหาวิกฤติปะการังด้วยการปิดจุดดำน้ำหรือประกาศห้ามการท่องเที่ยวตามแนวปะการังไม่ใช่เรื่องง่าย และเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อรายได้ของคนในท้องถิ่นและธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ ปตท. จึงได้ร่วมมือกับภาครัฐและหน่วยงานต่างๆ ในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ด้วยการจัดทำโครงการฟื้นฟูแนวปะการังอย่างต่อเนื่อง มานานกว่า 2 ทศวรรษในพื้นที่แนวปะการังจังหวัดต่างๆ และหนึ่งในโครงการที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ คือ “โครงการแหล่งเรียนรู้เรือหลวงไทยใต้ทะเล” ด้วยการจมเรือหลวงสองลำในพื้นที่ที่มีแนวปะการังสำคัญ คือจังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดชุมพรโดยเป็นโครงการที่สร้างแหล่งดำน้ำทดแทนด้วยฝีมือมนุษย์ ทำให้แนวปะการังธรรมชาติให้มีโอกาสฟื้นตัวได้เร็วขึ้นในขณะเดียวกันก็ไม่ส่งผลเสียต่อการท่องเที่ยว

หลังจากการวางเรือหลวงทั้ง 2 ลำแล้ว ทางปตท.ยังติดตามศึกษาผลกระทบ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ การศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสัตว์เกาะติดและประชากรปลา การศึกษาด้านการใช้ประโยชน์และการจัดการแหล่งดำน้ำเรือหลวง ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่าระบบนิเวศในบริเวณนั้นมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น อีกทั้งยังเป็น Landmark ใหม่ที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมาดำน้ำชื่นชมความงามของธรรมชาติใต้ท้องทะเล และกลายมาเป็นสนามสอบดำน้ำของนักเรียนดำน้ำอีกด้วย

ผลจากความทุ่มเทของ ปตท. และความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการให้ความสำคัญกับระบบนิเวศอย่างจริงจัง ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี ทำให้ในวันนี้เรือหลวงปราบและเรือหลวงสัตกูดได้กลายเป็นแหล่งดำน้ำยอดนิยมที่คนทั่วโลกรู้จัก และได้รับรางวัลด้านกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมระดับนานาชาติ จากหลากหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สำหรับท่านใดที่สนใจข้อมูลโครงการเพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูได้ที่ https://www.pttep.com

อ้างอิง
http://www.mkh.in.th
https://www.thairath.co.th
https://mgronline.com
https://www.pttep.com

หัวข้อที่น่าสนใจ