PTT Group Sharings
02 กรกฎาคม 2564
วิกฤตโควิดสร้างนวัตกรรมอะไรสู่โลกบ้าง
วิกฤติคือเชื้อเพลิงของนวัตกรรม ในเงื่อนไขที่บีบคั้น ความเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอีกหลายปีอาจ เกิดขึ้นในไม่กี่เดือน วิกฤต covid-19 ผลักดันให้เกิดนวัตกรรมจำนวนมากเพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภคในโลก ที่การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างนวัตกรรมที่เติบโตขึ้นอย่างมากในช่วง วิกฤต covid-19
- การปฏิวัติวิธีวิจัยเวชภัณฑ์ โดยปกติแล้วการวิจัยและเก็บข้อมูลในการพัฒนายาและวัคซีนต่างๆจะใช้เวลายาวนานหลายปี แต่เนื่องจาก ความต้องการที่จะหยุดการแพร่ระบาดของเชื้อ covid-19 ให้ได้เร็วที่สุด นักวิจัยจึงต้องหาวิธีที่จะทดสอบประสิทธิภาพ ของเวชภัณฑ์ให้ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และได้ผลสำเร็จเป็นวัคซีน mRNA ของ Pfizer และ Moderna ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น นวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่อย่างหนึ่งแห่งยุคสมัย จากความสำเร็จนี้ทำให้มาตรฐานวิธีการทดสอบเวชภัณฑ์ในอนาคต เปลี่ยนแปลงไปด้วย
- การเติบโตอย่างก้าวกระโดดในการใช้งานโปรแกรมทำงานและเรียนออนไลน์ เมื่อหนึ่งในวิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัส คือการเว้นระยะห่างทางบุคคล(social distacing) โปรแกรมประชุม ออนไลน์ เช่น Zoom ก็กลายเป็นโปรแกรมพื้นฐานประจำเครื่องของหนุ่มสาวออฟฟิศและนักเรียนนักศึกษา เมื่อ จำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว บริษัทต่างๆก็แข่งขันเสนอผลิตภัณฑ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อประสาน งาน การเรียน การประชุม แบบออนไลน์ ทั้งจากบริษัทใหญ่อย่าง Microsoft (Microsoft’s Teams) Google (Google Hangouts) และสตาร์ทอัพ อย่าง Bluescape, Eloops, Tandem
- การจัดส่งสินค้าแบบไร้สัมผัส ตัวเลือกการรับสินค้าแบบไม่ต้องพบพนักงานส่งกลายเป็นตัวเลือกพื้นฐานในเกือบทุกช่องทางรับส่งสินค้า เพื่อ ลดการพบปะระหว่างบุคคลที่ไม่จำเป็น นอกจากนี้ยังมีการใช้อากาศยานไร้คนขับ(โดรน) และหุ่นยนต์ขนส่งสินค้าเพิ่ม ขึ้นอีกด้วย
- การใช้ระบบโทรเวชกรรมอย่างแพร่หลาย ก่อนหน้านี้การให้บริการทางการแพทย์ออนไลน์ส่วนใหญ่จะเกิดในพื้นที่ห่างไกลที่ผู้ป่วยไม่สะดวกเดินทางเพื่อ รับบริการทางการแพทย์ แต่ในช่วงการระบาดของโรค covid-19 มีการให้บริการทางการแพทย์ออนไลน์ เช่นการให้คำ ปรึกษาโดยแพทย์และเภสัชกรผ่านวิดิโอแชท การจัดส่งยาให้ผู้ป่วยที่ต้องได้รับยาต่อเนื่องถึงบ้าน เพื่อให้ผู้ป่วยไม่ จำเป็นต้องเดินทางมาที่โรงพยาบาล ลดโอกาสการติดเชื้อระหว่างการเดินทาง และลดความแออัดที่จะเกิดที่โรง พยาบาล รวมถึงลดความเสี่ยงในการสัมผัสคนจำนวนมากของเจ้าหน้าที่ด้วย
- การเดินทางด้วยไมโครโมบิลิตี้ ไมโครโมบิลิตี้ (micromobility) หมายถึงยานยนต์ขนาดเล็กที่เคลื่อนที่โดยพลังงานจากผู้ขับขี่ เช่น จักรยาน สเกตบอร์ต หรือใช้พลังงานไฟฟ้า เช่น จักรยานไฟฟ้า การเดินทางระยะสั้นด้วยอุปกรณ์ในกลุ่มนี้ได้รับความนิยมเพิ่ม ขึ้นมากเพื่อหลีกเลี่ยงความแออัดจากการสัญจรด้วยระบบขนส่งสาธารณะ การใช้ไมโครโมบิลิตี้นอกจากจะช่วยเรื่อง การเว้นระยะห่างทางบุคคลแล้ว ยังช่วยลดปัญหามลภาวะ และช่วยให้คนเข้าถึงร้านค้ารายทางในชุมชนเพิ่มขึ้นด้วย
- การใช้ระบบอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม ในช่วงต้นของการระบาดของโรค covid-19 โรงงานหลายแห่งจำเป็นต้องหยุดปฏิบัติการเนื่องจากเกิดการ แพร่ระบาดของโรคในกลุ่มพนักงาน เพื่อไม่ให้อุตสาหกรรมหยุดชะงัก โรงงานหลายแห่งจึงได้ลงทุนในการใช้หุ่นยนต์ และระบบปัญญาประดิษฐ์(AI) ในสายการผลิตเพิ่มขึ้น แม้ว่าการใช้เครื่องจักรแทนมนุษย์ในโรงงานอุตสาหกรรมจะมีมา นานแล้ว แต่ในวิกฤตครั้งนี้ทำให้เกิดการนำเครื่องจักรมาใช้แทนมนุษย์มากขึ้นและเร็วขึ้นกว่าที่เคยมีการคาดการณ์ไว้
ที่มา: https://www.facebook.com/CareShareAndRespect/posts/3931785703600466