PTT Group Sharings
06 มิถุนายน 2564

ความก้าวหน้าในการพัฒนาวัคซีนโควิดในประเทศไทย

หากจะพูดถึงวิกฤตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมวลมนุษยชาติ ณ ขณะนี้ ทุกคนคงเห็นตรงกันว่าคือการแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโควิด-19 และความหวังเดียวในการหยุดยั้งการระบาดคือ “วัคซีน” ทุกประเทศทั่วโลกจึงต่างทุ่มเททรัพยากร ให้ได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีในการผลิตหรือได้ครอบครองวัคซีนจำนวนมากพอที่จะหยุดยั้งการ แพร่ระบาดของโรค ใน หมู่ประชากรของตน เพื่อความปลอดภัยในชีวิตของประชาชน และเพื่อเศรษฐกิจในภาคส่วนต่างๆจะได้กลับมาดำเนิน การตามปกติได้ในเร็ววัน

สำหรับประเทศไทยเอง ในตอนนี้นอกกจากจะมีการนำเข้าวัคซีนจากต่างประเทศแล้ว ยังมีการพัฒนาวัคซีน โดยนักวิจัยในประเทศมากกว่า 20 ตัว โดยมีวัคซีน 3 ตัวที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดได้แก่ ChulaCov-19 โดยศูนย์วิจัย วัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, วัคซีนโดยความร่วม มือระหว่างองค์การเภสัชกรรมและคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และวัคซีนจากบริษัทสตาร์ทอัพเอกชน ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ซึ่งมีอาจารย์จากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯเป็นผู้ก่อตั้ง

ChulaCov-19 เป็นวัคซีนชนิด m-RNA เช่นเดียวกับวัคซีนของบริษัท Pfizer และ Moderna ขณะนี้กำลังจะ เริ่มทำการทดสอบระยะแรกในมนุษย์(เฟส 1)ในเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ ในอาสาสมัครจำนวนประมาณ 100 คน หาก ผลออกมาเป็นที่น่าพอใจจะฉีดให้อาสาสมัครจำนวน 5000 คนในเฟสถัดไป นอกจากนี้ทางศูนย์วิจัยวัคซีน จุฬาฯ ยังได้ ทำการพัฒนาวัคซีนสำหรับเชื้อไวรัสกลายพันธุ์แบบ B.1.351 และ B.1.1.7 แล้วด้วย

วัคซีนขององค์การเภสัชกรรม เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย โดยได้หัวเชื้อมาจากองค์กรเพื่อความเท่าเทียมในการได้ รับบริการทางการแพทย์ (PATH/Program for Appropriate Technology in Health) สหรัฐอเมริกา เริ่มการ ทดสอบในมนุษย์เฟส 1 ไปแล้ว โดยได้ฉีดในกลุ่มอาสาสมัครไปแล้ว 18 คน (เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2564) และจะดำเนิน การต่อจนครบ 450 คน เพื่อนให้ได้ผลการทดสอบในมนุษย์เฟส 1 และ เฟส2

วัคซีนของบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม เป็นวัคซีนจากสารสกัดโปรตีนจากพืช ขณะนี้โรงงานที่ใช้ผลิตวัคซีนน่าจะ ดำเนินงานแล้วเสร็จช่วงประมาณสิ้นเดือนมิถุนายน และวางแผนที่จะทดสอบวัคซีนในมนุษย์ช่วงสิงหาคม/ กันยายนนี้

ในขณะที่วัคซีนที่พัฒนาโดยนักวิจัยในประเทศกำลังเร่งพัฒนาให้พร้อมใช้งาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมมือกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จัดหาและนำเข้าวัคซีนโควิด-19 เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่ประชาชน โดย ปตท.จะหนุนเสริมการบริหารการกระจายวัคซีนให้แก่ประชาชนโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่และช่วยลดภาระด้านงบประมาณในการจัดหาวัคซีนของภาครัฐได้ส่วนหนึ่ง เป็นการช่วยกระจายวัคซีนให้แก่ประชาชนได้เร็วยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ปตท. ยังกำลังจะนำเข้ายาเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) ซึ่งเป็นยาตัวแรกและตัวเดียวที่ได้รับรอง จากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ในการใช้รักษาโรคติดเชื้อ Covid-19 จำนวน 2,000 ขวด ผ่านบริษัทอิน โนบิก (เอเชีย) ซึ่งถือหุ้นร้อยละ 100 โดยบริษัท ปตท. โกลบอล แมนเนจเมนท์ จำกัด (PTTGM) มาบริจาคให้รัฐบาล เพื่อนำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงต่อไป และ ปตท.ยังมีโครงการ “ลมหายใจเดียวกัน" ที่ตั้ง งบประมาณไว้ถึง 200 ล้านบาท และยังพร้อมจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมอีก เพื่อเป็นกำลังหนึ่งในการฝ่าวิกฤตโค วิด-19ของประเทศไทย โดยดำเนินงานในหลายมิติ เช่น บริจาคเครื่องช่วยหายใจและอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นๆให้กับ โรงพยาบาลต่างๆทั่วประเทศรวมถึงกรมราชทัณฑ์, สนับสนุนการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามในพื้นที่ต่างๆ, มอบถุงยังชีพ เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้พิการทางสายตา และสมาชิกชุมชนคลองเตย เป็นต้น

ที่มา: https://www.facebook.com/CareShareAndRespect/posts/3860407437404960

หัวข้อที่น่าสนใจ