PTT Group Sharings
03 ตุลาคม 2564

Green Supply Chain Management การจัดการห่วงโซ่อุปทานเพื่อความยั่งยืน

ปัจจุบันหลายประเทศได้ให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และเน้นเป้าหมายให้เกิดความยั่งยืนมากขึ้น และ Green Supply Chain เป็นแนวทางการทำธุรกิจแบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมในแวดวงอุตสาหกรรม ด้วยการเอาแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อมมาพัฒนาโซ่อุปทานเดิม แตกต่างจากการทำธุรกิจแบบเดิมที่ทุกขั้นตอนจะมุ่งเน้นลดการใช้ทรัพยากร และต้องเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ทั้งการจัดซื้อ จัดจ้าง วัสดุ สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การใช้เทคโนโลยีสะอาดในทุกกระบวนการผลิต บรรจุภัณฑ์ต่างๆ การจัดส่งสินค้า การวางแผนกลยุทธ์และการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงกระบวนการคืนสินค้าจากผู้ซื้อกลับมายังผู้ขาย

การทำธุรกิจแบบ Green Supply Chain ให้มีประสิทธิภาพ ต้องทำอย่างต่อเนื่องและจริงจัง เพื่อผลลัพธ์รอบด้านที่ไม่เป็นเพียงแค่กำไรทางธุรกิจ เพราะหลักความยั่งยืนต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและผู้คนในท้องถิ่นนั้นๆ ด้วย ดังนั้น จึงขอยกตัวอย่างธุรกิจที่นำหลัก Green Supply Chain มาใช้อย่างจริงจัง จนได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติมากมาย อย่างบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติที่ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานครบวงจร ปตท. ได้บรรจุหลัก Green Supply Chain ไว้ในกลยุทธ์การดำเนินงานทั้งภายในและภายนอกองค์กร รวมถึงคู่ค้าของปตท. และบริษัทในเครืออีกด้วย

นอกจากนี้ ปตท. ยังให้ความสำคัญผลกระทบทางด้านสังคม ที่จะต้องมีศักยภาพและมาตรฐานด้านการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกของ ปตท. ทั้งด้านจริยธรรมทางธุรกิจ ความรับผิดชอบต่อสังคม ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม (ESG) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมเศรษฐกิจภายในประเทศ เน้นการใช้วัตถุดิบและจ้างงานภายในท้องถิ่น สร้างรายได้ให้แก่คนในพื้นที่ ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทีดีในระยะยาวระหว่างชุมชนกับองค์กร

หลายโครงการที่ ปตท. ได้ร่วมกับชุมชน ในการพัฒนาและสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด ทั้งก๊าซชีวภาพจากฟาร์มสุกร ระบบเซลล์แสงอาทิตย์ ระบบส่งน้ำโดยเครื่องตะบันน้ำ ทั้งสามโครงการทำให้ชุมชนสามารถลดค่าใช้จ่ายจากการใช้พลังงานรวมกว่า 11 ล้านบาท/ปี ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 10,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์/ปี และชุมชนได้รับประโยชน์มากกว่า 12,000 ครัวเรือน

เป็นเครื่องยืนยันว่า ปตท. มีความมุ่งมั่นพัฒนาการดำเนินงานแบบ Green Supply Chain อย่างสม่ำเสมอ เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมของคนไทย

อ้างอิง
https://www.smartsme.co.th/content/17007
https://www.pttplc.com/th/Sustainability/Economics/Supplychainmanagement.aspx
https://www.iok2u.com/attachments/article/680/Content_28.pdf

หัวข้อที่น่าสนใจ